Saturday, June 15, 2013

ทศนิยม

ทศนิยม
     
ทศนิยมนั้นจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราตลอด  ไม่ว่าจะเป็นการบอกค่าของเงินที่เราใช้   การบอกเวลา   บอกหน่วยความยาว ฯลฯ
     -    การเขียนทศนิยมในรูปกระจายเป็นการเขียนในรูปการบวกค่าของตัวเลขในหลักต่าง ๆ  ของทศนิยมนั้น
      -  ทศนิยม หมายถึง การเขียนตัวเลขแสดงจำนวนที่มีค่าน้อยกว่า 1 หรือการเขียนตัวเลขประเภทเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 10,100,1000 แต่เปลี่ยนรูปจากเศษส่วนมาเป็นรูปทศนิยม โดยใช้เครื่องหมาย . (จุด) แทน
      - ทศนิยมและเศษส่วน ทศนิยมหนึ่งตำแหน่งเทียบได้กับเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นสิบ และทศนิยมสองตำแหน่งเทียบได้กับเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นร้อย
  ทศนิยม      หมายถึง ค่าของจำนวนเต็มที่แบ่งออกเป็นสิบส่วน ร้อยส่วน พันส่วน .... เท่า ๆ  กัน ซึ่งเขียนได้ในรูปของเศษส่วน

เช่น     เป็นต้น
ค่าของตัวเลขตามค่าประจำหลัก
ล้าน
แสน
หมื่น
พัน
ร้อย
สิบ
หน่วย
จุด
หลักส่วนสิบ
หลักส่วนพัน
1,000,000
100,000
10,000
1,000
100
10
1
หรือ 0.1
หรือ0.001
หลักตัวเลขหน้าจุด  หลักตัวเลขหลังจุด    

การบวกเลขทศนิยม (ธรรมดา) คือ ตั้งให้จุดทศนิยมตรงกัน แล้วทำการบวกตามการบวกเลขธรรมดาทั่ว ๆ ไป เช่น
      35.05  ,  27.09
          35.05
                        +
          27.09    

          62.14    

ารหาผลคูณโดยใช้การบวกทศนิยมซ้ำ ๆ กัน
                   การคูณทศนิยมด้วยจำนวนนับ อาจใช้วิธีเปลี่ยนการคูณให้อยู่ในรูปของการบวกทศนิยมนั้นหลาย ๆ ครั้ง โดยจำนวนของทศนิยมที่นำมาบวกกันเท่ากับจำนวนนับนั้นแล้วใช้หลักการบวกทศนิยม
ะสังเกตได้ว่า การคูณนั้นก็เหมือนกับการนำเอาทศนิยมจำนวน ๆ หนึ่ง มาบวกกันให้เท่ากับจำนวนที่เราต้องการ เช่น
    เราต้องการ  หา 4 เท่าของ 0.4     0.4 คูณกับ 4 = 0.4 + 0.4 + 0.4 + 0.4
                                                                            = 1.6
- จะเห็นว่าได้ผลลัพธ์เท่ากัน ดังนั้นก็สามารถบอกได้ว่า การหาผลคูณโดยใช้วิธีการนำทศนิยมมาบวกซ้ำ ๆ กัน ให้เท่ากับจำนวนที่เอามาคูณได้ และอาจใช้วิธีตั้งหลักเลขและจุดทศนิยมให้ตรงกัน แล้วบวกกันโดยใช้หลักการเช่นเดียวกับการบวกจำนวนนับ
ความสัมพันธ์ของทศนิยมและเศษส่วน
          4 x 0.3
        4 x 0.3 =                 b_pigeon02.gif

                       =       
                       =  1.2
    ดังนั้น        4 x 0.3  = 1.2
ทศนิยม
1. ทศนิยม
    ทศนิยม หมายถึง การเขียนตัวเลขประเภทเศษส่วนเป็น 10 หรือ 10 ยกกำลังต่างๆ แต่เปลี่ยนรูปจากเศษส่วนมาเป็นรูปทศนิยม โดยใช้เครื่องหมาย . (จุด)แทน
    ตัวอย่าง    ส่วนที่แรเงาคือ 7/10 = 0.7

2. การอ่านทศนิยม     เลขที่อยู่หน้าทศนิยมเป็นเลขจำนวนเต็ม อ่านเช่นเดียวกับตัวเลขจำนวนเต็มทั่วไป ส่วนตัวเลขหลังจุดทศนิยมเป็นเลขเศษของเศษส่วนซึ่งมีค่าไม่ถึงหนึ่ง อ่านตามลำดับตัวเลขไป เช่น 635.1489 อ่านว่า หกร้อยสามสิบห้าจุดหนึ่งสี่แปดเก้าถ้าเลขจำนวนนั้นไม่มีจำนวนเต็ม จะเขียน 0 (ศูนย์) ไว้ตำแหน่งหลักหน่วยหน้าจุดได้ เช่น .25 เขียนเป็น 0.25 ก็ได้

3. การกระจายทศนิยม     457.35 =400 + 50 + 7 + 0.3 + 0.05

4. การเรียกตำแหน่งทศนิยม     ถ้ามีตัวเลขหลังจุดทศนิยมกี่ตัว ก็เรียกเท่านั้นตำแหน่ง เช่น
        0.4 , 15.3 , 458.6     เรียกว่า ทศนิยม 1 ตำแหน่ง
        0.25 , 25.36 , 25.18  เรียกว่า ทศนิยม 2 ตำแหน่ง

5. การปัดเศษทศนิยม มีหลักดังนี้    5.1 ถ้าตัวเลขทศนิยมที่พิจารณา มีค่าตั้งแต่ 6 ขึ้นไป จะปัดทบเข้ากับตัวเลขหน้า เช่น 56.38 = 56.4
    5.2 ถ้าตัวเลขทศนิยมที่พิจารณา มีค่าตั้งแต่ 4 ลงมา จะปัดตัวเลขนั้นทิ้งไป เช่น 56.32 = 56.3
    5.3 ถ้าตัวเลขทศนิยมที่พิจารณา มีค่าเท่ากับ 5 มีวิธีปัดทศนิยม 2 วิธีคือ
        1.) ถ้าทศนิยมหน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ ก็ตัดตัวเลข 5 ทิ้ง เช่น 4.65= 4.6
        2. ) ถ้าทศนิยมหน้าเลข 5 เป็นเลขคี่ ให้ปัดทศนิยมขึ้น เช่น 0.75 = 0.8

6. ทศนิยม และเศษส่วน     6.1 การเขียนทศนิยมให้เป็นเศษส่วน
        ตัวอย่าง จงเขียน 2.5 ให้เป็นเศษส่วน
            วิธีทำ 2.5 = 2 กับ 5 ใน 10
            ดังนั้น  
    6.2 การเขียนเศษส่วนให้เป็นทศนิยม
        1.) เศษส่วนที่มีส่วนเป็น 10 หรือ 100 หรือ 10 ยกกำลัง สามารถเปลี่ยนเป็นทศนิยมได้เลย เช่น 75/100 = 0.75
        2.) เศษส่วนที่ไม่มีส่วนเป็น 10 หรือ 100 หรือ 10 ยกกำลัง ให้เปลี่ยนเป็นเศษส่วนที่มีส่วนเป็น 10 หรือ 100 หรือ 10 ยกกำลังก่อน  เช่น 


ทดสอบความเข้าใจ
ข้อ 1. 0.75 ไม่เท่ากับจำนวนใด
        ก. 3/4
        ข. 15/20
        ค. 20/25
        ง. 75/100
ข้อ 2. 8 บาท 75 สตางค์ เท่ากับกี่บาท
        ก. 8.75
        ข. 8.57
        ค. 87.5
        ง. 875
ข้อ 3. น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม 3 ขีด เท่ากับกี่กิโลกรัม
        ก. 2.03
        ข. 2.3
        ค. 3.2
        ง. 5


เฉลย ข้อ 1. ตอบ ค.          ข้อ 2. ตอบ ก.          ข้อ 3. ตอบ ข.

No comments:

Post a Comment